วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
Latest:
ข่าวประชาสัมพันธ์

วันว่าง ชวนคนข้างๆ “เที่ยวทุ่งหัวช้าง” กันนะ

วันว่าง ชวนคนข้างๆ “เที่ยวทุ่งหัวช้าง” กันนะ

ไปโอบกอดม่อนดอย

พร้อมสูดโอโซนเข้าปอด แบบเฮือกโตๆ

สัมผัสกลิ่นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ แลดูทุ่งนาที่เขียวขจี  และสัมผัสชีวิตแบบนววิถีอย่างแท้จริง

VVVVVVVVVVVVVVVVVV

VVVVVVVVV

VVVVVV

ทุ่งหัวช้าง อำเภอเล็กๆ อันเงียบสงบ ในจังหวัดลำพูน

โดยกว่า 70 % ของคนที่นี่ เป็นชาวปกาเกอะญอ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย

ไม่เร่งรีบ ไม่แข่งขันกับใคร 

แค่คนที่นี่เขาเปลี่ยนจากการสัญจรไปมาบนท้องถนน

มาเป็นเดินบนคันนายาวสายสีเขียว แบบสุดลูกหูลูกตา

******************************************************************

เสน่ห์ของคนทุ่งหัวช้าง เขาบอกว่าอยู่ที่

“การทอผ้า”

มีศิลปะการทอเป็นเอกลักษณ์ บ่งบอกได้โดยลายผ้า

ที่เซียนผ้าดูแวปแรกก็รู้ ว่านี่  คือ ผ้าทอของทุ่งหัวช้าง

**************************************************************************

 

แล้วใครจะไปรู้ ว่าที่ทุ่งหัวช้าง อำเภอเล็กในจังหวัดลำพูน จะมีอะไรดีถ้าพูดถึง

“ทุ่งหัวช้าง” เขามีถึง 4 Season (ฤดู)

 

“ฤดูจำศีล” หรือที่เค้าเรียกกันว่า “คนในห้ามออก คนนอกเข้า” 3 วัน 3 คืน ประเพณีของหมู่บ้านชาวปกาเกอะญอ ที่สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัด คนในหมู่บ้านไม่ให้ออกนอกพื้นที่ และคนนอกพื้นที่..ก็ไม่เข้าหมู่บ้าน ไม่งั้นละก็ เขาว่าจะ “ผิดผี”

 

“ฤดูบุญใหญ่” อะเมซิ่ง ล้านนา ประเพณีแห่ครัวตาน @ วัดหัวขัว ตื่นตาตื่นใจไปกับขบวนแห่ครัวตานสีสันสดใส

 

ชาวบ้านปกาเกอะญอ ที่มีขบวนแห่ระยะทางที่ทอดยาวสุดแดนคันนา

พร้อมด้วยเสียงแห่ฆ้อง ตีกลอง   โห่ดังกึกก้องทั่วพื้นทีตำบลทุ่งหัวช้าง

ในช่วงเดือน พ.ค. – ส.ค. เข้าสู่ฤดูกาลหว่านกล้า ดำนา

เป็นที่มาของการเปลี่ยนทุ่งหัวช้างเป็นเมือง Green Season

        “ฤดูทำนา” จากคำที่….แม่ผมเคยบอกว่า

“ไม่มีเงินเราอยู่ได้ แต่ถ้าไม่มีข้าวกิน เราอยู่ไม่ได้”         

เป็นคำพูดที่ถูกปลูกฝังให้เกิดจิตสำนึกในการเลี้ยงชีพ ด้วยอาชีพทำนา

“ฤดูเก็บเกี่ยว” เมื่อรวงข้าวสีทองเต็มท้องทุ่ง ก็เป็นสัญญาณที่ดีเตรียมเก็บเกี่ยว

ช่วงเดือน พ.ย. – ธ.ค. ชาวนาจะปฏิบัติตามพิธีกรรมและความเชื่อที่สะท้อนสภาพวิถีชีวิตแบบชาวบ้านหลังฤดูการเก็บเกี่ยว หรือที่เรียกกันว่า  สู่ขวัญ

*********************************************************************

 

++++แล้วถ้าไปถึงทุ่งหัวช้าง จะไปไหนดีล่ะ ? ++++++

จุดเเรก กราบไหว้สา – วัดพระธาตุดอยตุงซาววา –

ไปกราบองค์พระสมเด็จองค์ปฐมปางมหาจักรพรรดิ สถานที่ศักดิ์สิทธ์อันทรงคุณค่

สำคัญยิ่งที่ปรากฏบนยอดดอยตุงซาววา

ซึ่งท่านครูบาวงค์เป็น ผู้ปลุกพลังแรงศรัทธาของชาวบ้านในละแวกนั้น ร่วมด้วยช่วยกันสร้างขึ้น

*****************************************************************************************

จุดที่ สอง – วัดพระธาตุหัวขัว –

วัดที่สร้างตามสถาปัตยกรรมแบบชาวปกาเกอะญอ

 

ใช้ช่างพื้นบ้าน สร้างแบบเรียบง่าย ที่ยังคงรักษาความเก่าแก่ไว้

โดยไม่รับเอาความเจริญเข้ามา ให้พื้นที่ต้องได้แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา

*************************************************************************

จุดที่ 3 – พระธาตุดอยหลวง ทุ่งหัวช้าง –

ไปตะลุยเส้นทางธรรมชาติในม่อนดอย

เพื่อชมวิวทิวเขา อำเภอทุ่งหัวช้าง กันแบบ 360 องศา

ด้วยความรู้สึกเหมือนอยู่ในอ้อมกอดของทิวเขาเขียว ชอุ่มสวยงามเย็นตา

***********************************************************

ต่อจากนั้นเดินทางศึกษา งานผ้าทอ จากภูมิปัญญา ในพื้นที่ 

“ทีสะคา”ผ้าทอกะเหรี่ยง  –  แปลว่า บ้านห้วยไร่

เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่นำผ้าทอมาย้อมสีธรรมชาติ 100% 

บบภูมิปัญญาดั้งเดิม การทอผ้าผสมผสานดีไซน์ใหม่ๆ

จนเกิดเป็นแบรน์ที่ชื่อว่า

– ที –  สะ – คา –

 

******************************************************************

– ปาริชาติ ไหมไทย –

แหล่งรวมคนเชื้อชาติ ศาสนา ทั้งชาวเมืองพื้นราบ ชาวเขาเผ่าต่างๆ

ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมการทอผ้า ด้วยมือ ผ้าทอไหมยกดอก 

ฝ้ายยกดอกลายโบราณ คุณภาพแสนดี มีมาตรฐาน

เป็นเเหล่งผลิคผ้าไหมยกดอก ที่สวยงาม อีกแห่งหนึ่งของประเทศ

********************************************************************************

– กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ บ้านไม้ตะเคียน –

ลงไปคลุกคลีอยู่กับชาวบ้าน เพื่อเรียนรู้ภูมิปัญญาทอผ้า

ของชาวบ้าน

 เส้นใย ผ้าทอหลายหลายสีสัน

ถูกนำมาทั้งในวิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น

ที่นี่ยังมีผ้าทอ ย่าม ผ้าซิ่น ผ้าคลุมไหล่ ผ้าขาวม้า

ทั้งผ้าย้อมสีธรรมชาติ และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้า

*************************************************************************

++++อำเภอทุ่งหัวช้างยังมีอะไรที่น่าสนใจ เเละน่าค้นหา อีกมากมาย++++

**********************************************************************

คราวหน้าเราจะไปที่ไหนกัน

ติดตามตอนต่อไป

 

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.