วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
Latest:
องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน
ข่าวประชาสัมพันธ์

ลำพูน 1 ใน 10 เมืองเก่า คุณค่าเเก่การอนุรักษ์ยิ่ง

ลำพูน 1 ใน 10 เมืองเก่า คุณค่าเเก่การอนุรักษ์ยิ่ง

ตามที่ คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้กำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า 10 เมือง เป็นเมืองเก่า ซึ่งกลุ่มที่ 1 ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง กำแพงเพชร พิษณุโลก ลพบุรี พิมาย นครศรีธรรมราช และสงขลา เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2553, เมืองลำพูน เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2554 และ เมืองน่าน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 เหตุผลคือ เป็นเมืองเก่าที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีขนาดใหญ่ในฐานะศูนย์กลางของอาณาจักรในยุคใดยุคหนึ่ง มีหลักฐานของงานศิลปกรรมที่มีลักษณะที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของอาณาจักรนั้นๆ ในอดีต และในปัจจุบันมีการอยู่อาศัยของชุมชนใหม่ซ้อนทับชุมชนเดิม ทำให้ต้องเร่งประกาศความสำคัญของการเป็นเมืองเก่าให้ชัดเจนเพื่อการดำเนินการทางด้านการพัฒนาและอนุรักษ์ที่เหมาะสมต่อไป

จากการที่ลำพูน เป็น 1 ใน 10 เมืองเก่า การพัฒนาที่สำคัญตามแผนและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าลำพูน เน้นการพัฒนาเมืองใน 3 ด้านได้แก่ ด้านการพัฒนากลไกและกระบวนการบริหารจัดการเมืองเก่าแบบบูรณาการ ด้านการฟื้นฟู ดูแล รักษาแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิทัศน์เมืองเก่า และด้านส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และเสริมสร้างความเข้าใจ ถึงประโยชน์ของเมืองเก่า และรักษาเมืองเก่าให้เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา ได้เปิดการประชุมโดย คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าลำพูน โดยมี นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นายกอบจ.ลำพูน ปลัดเทศบาลเมืองลำพูน เเละหน่วยหน้าส่วนราชการ นักวิชาการ เข้าร่วมประชุมเพื่อหารือเเนวทางการพัฒนาเมืองเก่าลำพูน  คูเมือง กำแพงเมือง โบราณสถาน ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ ฯลฯ 

ให้เกิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ที่ให้ความสาคัญกับความสมดุลของระบบนิเวศน์ สภาพเศรษฐกิจ ชุมชน และสภาพความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน และเพื่อให้บริเวณเมืองเก่าสามารถดำรงคุณค่าความเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมอันล้าค่าไว้

 

ซึ่งการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เมืองเก่านั้น สิ่งหนึ่งที่ต้องการให้เกิดความเข้าใจร่วมกันที่ดี คือ  “การสร้างจิตสานึกใน การอนุรักษ์เมืองเก่า ลำพูน” การถ่ายทอดสู่คนลำพูน ต่อไปยังลูกหลาน เยาวชน การสร้างความเข้าใจ จากพื้นฐาน  ซึ่งความรักความหวงเเหน เเละอนุรักษ์ถึงรากเหง้าของชาตพันธุ์ ความเป็นคนพื้นถิ่น

และการคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ การถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่น หนึ่ง เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในถิ่นเกิดของตน นับเป็นการสืบสานองค์ความรู้ภูมิปัญญา ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา ทั้งยังสำมารถ ต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้ดังกล่าวให้สอดคล้องกับสภาพยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป

 

“ การเป็นเมืองเก่าลำพูน ”จะสร้างอะไรให้คนลำพูน ?  # ติดตามตอนต่อไป

 

เเหล่งที่มาข้อมูล โดย เทศบาลเมืองลำพูน  https://lamphuncity.go.th/, นายฉัตรกุล ชื่นสุวรรณกุล ปลัดเทศบาลเมืองลำพูน

#เรียบเรียงโดย นกอมตะ

 

 

 

 

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.